

Search Engine ช่วยในการค้นหาได้อย่างรวดเร็วโดยทั่วไปSearch Engine แบ่งลักษณะรูปแบบการค้นหา เป็น 3 ลักษณะ คือ

หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด ซึ่งการจัดทำแบบนามานุกรม
นี้มีข้อดีคือ ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ
และสามารถกำหนดค้นได้ง่ายในหัวข้อโดยเลือกจากรายการที่ทำไว้แล้วเว็บไซต์ที่มีการจัดเรียงข้อมูลไว้แบบนามานุกรม เช่น www.yahoo.com , www.lycos.com ww.sanook.com,www.siamguru.com www.hotmail.com www.thaimail.com เป็นต้น


Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด)ดังนั้น หากจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
https://sites.google.com/site/nuttida512/hnwy-thi-7-kar-subkhn-khxmul-bn-kherux-khay-xinthexrnet



เว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com www.yahoo.com www.sanook.com เป็นต้น






สาระสำคัญไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารที่เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้วิธีหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะมีข้อดีแล้วยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ควรศึกษาก่อน การใช้งาน เพื่อให้สามารถตัดสินใจและใช้งานได้อย่างถูกต้อง


ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างหนึ่งที่เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ นิยมเรียกสั้นๆ ว่า อีเมล์ มาจากภาษาอังกฤษคำว่า อิเล็กทรอนิกส์เมล์(E-mail = Electronic Mail) หรือเรียกว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะการรับและส่งข้อมูลเหมือนกับการติดต่อสื่อสารประเภทจดหมาย คือ มีการพิมพ์ข้อความผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้วแปลงเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แทนการเขียนข้อความลงในกระดาษแล้วใช้การส่งข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งแทนการส่งจดหมายผ่านทางไปรษณีย์ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในบริษัทหรือสำนักงานโดยใช้โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เฉพาะภาย ในบริษัทหรือสำนักงาน ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือไม่ก็ได้ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นบริการอย่างหนึ่งของระบบเครือข่ายซึ่งนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มบุคคลที่ใช้อินเทอร์เน็ตเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์จะมีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นของตนเองด้วยเหตุนี้ผู้ใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จึงต้องมีที่อยู่ของตนเองและรู้ที่อยู่ของบุคคลที่ต้องการติดต่อสื่อสารเมื่อต้องการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้ต้องสมัครหรือลงทะเบียนกับเว็บไซต์ที่ให้บริการเพื่อจะได้ที่อยู่สำหรับติดต่อทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า อีเมล์แอดเดรส (E-mail Address) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน คือ ชื่อ แอทโดเมนเนม และรหัส







ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในเวลาและสถานที่ใดก็ได้เพียงแต่ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายกับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการส่งหรือรับข้อมูลนั้น






โดยข้อมูลที่ได้รับทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถนำมาจัดทำในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์



กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: Bulletin Board System) หรือ บีบีเอส (BBS) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่รันซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้หลาย ๆ คน ใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมเทอร์มินัลติดต่อเข้าไปในระบบ ผ่านทางโมเด็มและสายโทรศัพท์. โดยในระบบจะมีบริการต่าง ๆ ให้ใช้ เช่น ระบบส่งข้อความระหว่างผู้ใช้ (คล้าย จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน แต่รับส่งได้เฉพาะภายในระบบเครือข่ายสมาชิกเท่านั้น) ห้องสนทนา บริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ และกระดานแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เป็นต้น
บีบีเอสส่วนใหญ่เปิดให้บริการฟรี โดยสมาชิกจะสามารถเข้าใช้ระบบได้แต่ละวันในระยะเวลาจำกัด บีบีเอสมักจะดำเนินการในรูปของงานอดิเรกของผู้ดูแลระบบ หรือที่เรียกกันว่า ซิสอ็อป (SysOp จากคำว่า system operator)
บีบีเอสส่วนในเมืองไทยมีขนาดเล็ก มีคู่สายเพียง 1 หรือ 2 คู่สายเท่านั้น บางบีบีเอสยังอาจเปิดปิดเป็นเวลาอีกด้วย บีบีเอสขนาดใหญ่ที่ได้รับความนิยมมากในสมัยก่อนได้แก่ ManNET ซึ่งมีถึง 8 คู่สายและเปิดบริการตลอด 24 ชม. ManNET ดำเนินการโดยแมนกรุ๊ป ผู้จัดทำนิตยสารคอมพิวเตอร์รายใหญ่ในยุคนั้น. นอกจากนี้ยังมีบีบีเอส CDC Net ของ กองควบคุมโรคติดต่อ (กองควบคุมโรค ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นบีบีเอสระบบกราฟิกรุ่นบุกเบิกของประเทศไทย
ในปัจจุบัน บีบีเอสมีบทบาทน้อยลงไปมาก เนื่องจากความแพร่หลายและข้อได้เปรียบหลายประการของ อินเทอร์เน็ต และ เวิลด์ไวด์เว็บ. ในประเทศญี่ปุ่น คำว่า บีบีเอส อาจจะใช้เรียกกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์บนอินเทอร์เน็ตด้วย. แต่สำหรับเมืองไทยแล้ว นิยมเรียกกระดานข่าวเหล่านี้ว่า เว็บบอร์ด มากกว่า


ห้องสมุด คือแหล่งสารนิเทศ บริการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาค วัสดุเทปและโทรทัศน์ CD-ROM DVDVCD รวมถึงไมโครฟิล์มด้วย โดยมีบรรณารักษ์ เป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารงานต่างๆ ในห้องสมุด โดยจัดระบบเป็นหมวดหมู่ และระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุด มีความสะดวกสืบค้นได้ง่าย ตรงกับความต้องการ
ห้องสมุดในปัจจุบัน ทำหน้าที่เก็บรวบรวม จัดระบบ เพื่อให้บริการสื่อสารนิเทศต่างๆ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหาและดำเนินการให้บริการสื่อต่างๆ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
ห้องสมุด ยังมีคำเรียกต่างๆ อีกมากมาย อาทิ ศูนย์ข้อมูล, ศูนย์วัสดุ, ศูนย์วัสดุการศึกษา, สถาบันวิทยาบริการ, ศูนย์เอกสาร และ ศูนย์สารนิเทศ เป็นต้น
Digital ห้องสมุดบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายเพื่อโรงเรียนไทยหรือสคูลเน็ต เป็นเครือข่ายที่มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีโรงเรียนเชื่อมต่ออยู่บนเครือข่ายนี้มากกว่าหนึ่งพันโรงเรียน ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นครูและนักเรียน และใช้ประโยชน์เพื่ อการศึกษาเป็นสำคัญ ถึงแม้ว่าเครือข่ายสคูลเน็ตจะเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตและเรียกค้นข้อมูลจากทั่วโลกได้แล้วก็ตาม แต่ปัญหาที่พบคือ มีข้อมูลหรือเนื้อหาที่ใช้ประโยชน์กับครูและนักเรียนโดยตรงได้น้อย อีกทั้งยังเป็นภาษาต่างประเทศ ทำให้เกิดความเข้าใจได้ยาก และการเรียกใช้ข้อมูลได้ค่อนข้างช้า ส่วนใหญ่ข้อมูลที่ใช้มักเป็นเรื่องความสนุกเพลิดพลิน นับเป็นปัญหาหนึ่งที่จะมีผลต่อเด็กและเยาวชนได้แก่ การแพร่ซึมวัฒนธรรมจากต่างชาติ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้เครือข่ายสคูลเน็ต และเป็นจุดน่าสนใจที่จะดึงดูดให้นักเรียนและเยาวชนไทยได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลความรู้ จึงจำเป็นต้องพัฒนาเนื้อหาขึ้นภายในประเทศไทย เพื่อให้เรียกใช้ได้ง่าย รวดเร็ว และตรงตามความต้องการ ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้จะเป็นเสมือน ห้องสมุดความรู้ที่ใช้งานร่วมกันเพื่อประโยชน์ต่อลูกหลานชาวไทยต่อไป โครงการดิจิตอลไลบารีจึงเป็นโครงการต้นแบบเริ่มต้น และเป็นตัวอย่าง ที่จะชักจูงให้โรงเรียนต่าง ๆ เข้ามาร่วมโครงการสร้างเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ และเชื่อมโยงเข้าสู่ห้องสมุดดิจิตอลนี้ อย่างเป็นระบบ ก่อให้เกิดห้องสมุดเสมือนจริงบนเครือข่ายสคูลเน็ตสำหรับการใช้งานร่วมกันต่อไป
เนื้อหาที่นำมาใส่ไว้ในโครงการนี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทาง สำหรับโรงเรียนต่าง ๆ ที่จะร่วมโครงการ โดยเป็นการรวบรวมและเรียบเรียงมาเพื่อเป็นตัวอย่างของการสร้างห้องสมุดดิจิตอล ที่จะขยายเพิ่มต่อไปอย่างไม่มี ขอบเขต โดยเน้นเพื่อการศึกษาของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ คณะผู้ดำเนินการต้องขอขอบพระคุณหน่วยงาน องค์กร และบุคคลที่ได้ให้การสนับสนุน ทั้งทางด้านเนื้อหาและร่วมจัดทำ และหวังว่าโครงการนี้จะได้รับการขยายผลให้กว้างขวางต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น